วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความสำคัญของระบบประสาทของมนุษย์         

           ระบบประสาท  คือ ระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ทำให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็ว ช่วยรวบรวมข้อมูลเพื่อให้สามารถตอบ สนองได้  สัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่น ฟองน้ำ ไม่มีระบบประสาท สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเริ่มมีระบบประสาท สัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจะมีโครงสร้างของระบบประสาทซับซ้อนยิ่งขึ้นระบบประสาท  มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่างๆ ทำงาน ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้

ข้อมูลเกี่ยวกับระบบประสาทของมนุษย์

1. ความหมายของของระบบประสาทของมนุษย์
           
  ระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ ทำให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็วช่วยรวบรวมข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ สัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่น ฟองน้ำไม่มีระบบประสาท  สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเริ่มมีระบบประสาท สัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจีโครงสร้างของระบบประสาทซับซ้อนยิ่งขึ้น ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทรอบนอก  

 2. องค์ประกอบของระบบประสาท

ระบบประสาทของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย         

     2.1   ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal card)ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด           

        สมอง  เป็นอวัยวะที่สำคัญและมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่น ๆ ของระบบประสาท บรรจุอยู่ภายในกะโหลกศีรษะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 1.4 กิโลกรัม หรือ 3 ปอนด์ สมองแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นนอกมีสีเทา เรียกว่า เกรย์แมตเตอร์ ซึ่งเป็นที่รวมของเซลล์ประสาท และแอกซอนชนิดที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ส่วนชั้นในมีสีขาว เรียกว่า ไวท์ แมตเตอร์เป็นส่วนของใยประสาทที่ออกจากเซลล์ประสาท สมองของสัตว์ชั้นสูงจะเป็นที่รวมของใยประสาทควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ที่บริเวณศีรษะทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความจำ ความฉลาด นอกจากนี้ยังเป็น ศูนย์กลางควบคุมระบบประสาททั้งหมด       สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย  ส่วนประกอบของสมองและการทำหน้าที่          

1) สมองส่วนหน้า (forebrain) ประกอบด้วย    

- ซีรีบรัม (cerebrum) เป็นสมองส่วนหน้าสุดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ความนึกคิด ไหวพริบ และความรู้สึกผิดชอบ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ เช่น ศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ การรับสัมผัส การพูด การมองเห็น เป็นต้น    

- ทาลามัส (thalamus)เป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าของสมองส่วนกลางหรืออยู่ข้าง ๆ โพรงสมอง ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่อยทอดกระแสประสาทที่รับความรู้สึก ก่อนที่จะส่งไปยังสมองที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้น   

-ไฮโพทาลามัส (hypothalamus)สมองส่วนนี้อยู่ใต้ส่วนทาลามัส ซึ่งอยู่ด้านล่างสุดของสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ การนอนหลับ ความดันเลือด ความหิว ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ เช่น อารมณ์เศร้าโศกเสียใจ เป็นต้น         

2) สมองส่วนกลาง (Midbrain) เป็นส่วนที่ต่อจากสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา เช่น ทำให้ลูกตากลอกไปมาได้ ปิดเปิดม่านตาขณะที่มีแสงเข้ามามากหรือน้อย        

3) สมองส่วนท้าย (hindbrain) ประกอบด้วย    

-ซีรีเบลลัม (cerebellum) อยู่ใต้ส่วนล่างของซีรีบรัม ทำหน้าที่ในการดูแลการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และระบบกล้ามเนื้อต่าง ๆ ให้ประสานสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมและราบรื่น อีกทั้งยังเป็นตัวรับกระแสประสาทจากอวัยวะควบคุมการทรงตัว ซึ่งอยู่ในหูชั้นใน และจากข้อต่อและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ซีรีเบลลัมจึงเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย    

-พอนส์ (pons) เป็นส่วนของก้านสมองที่อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัมติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ควบคุมการหายใจ การฟัง    

-เมดัลลาออบลองกาตา เป็นสมองส่วนท้ายสุด ซึ่งตอนปลายของสมองส่วนนี้ต่อกับไขสันหลัง จึงเป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง นอกจากนี้เมดัลลา ออบลองกาตายังทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ การหมุนเวียนเลือด การกลืน การไอ การจาม เป็นต้นสมองส่วนกลาง พอนส์ และ เมดัลลา ออบลองกาตา สมองทั้ง 3 ส่วนนี้รวมเรียกว่า ก้านสมอง (brain stem)

      ไขสันหลัง เป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องกระดูกสันหลัง โดยเริ่มจากกระดูกสันหลังข้อแรกไปจนถึงกระดูกบั้นเอวข้อที่ 2 ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 ใน 3 ของความยาวของกระดูกสันหลัง และมีแขนงเส้นประสาทแตกออกจากข้อสันหลังมากมาย ไขสันหลังจะมีเยื่อหุ้ม 3 ชั้น และมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้มสมอง ดังนั้นเมื่อมีการเจาะน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังหรือการฉีดเข้าเส้นสันหลัง แพทย์จะฉีดต่ำกว่ากระดูกบั้นเอวข้อที่ 2 ลงไปเพราะบริเวณที่ต่อลงไปจะเป็นมัดของเส้นประสาทไขสันหลัง จะไม่มีไขสันหลังปรากฏอยู่โอกาสที่จะเกิดอันตรายกับไขสันหลังมีน้อยกว่าการฉีดเข้าไปบริเวณอื่น นอกจากนี้ หากมีเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสหลุดเข้าไปในเยื่อหุ้มไขสันหลัง เชื่อโรคจะกระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการอักเสบของไขสันหลังอย่างรุนแรงได้ 

      2.2 ระบบประสาทส่วนปลาย

           เส้นประสาทสมอง (cranial nerve ) เรียกกันทั่วไปว่า เส้นประสาทที่แยกออกจากสมอง ในปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีจำนวน 10 คู่ ส่วนพวกในสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีจำนวน 12 คู่ สำหรับคนเรามี 12 คู่  คือ คู่ที่ 112 เส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 เส้นประสาท ออลแฟกทอรี (olfactory nerve)รับความรู้สึกเกี่ยวกับกลิ่น เยื่อหุ้มจมูก เข้าสู่ทอรีบัลล์ แล้วเข้าสู่ออลแฟกทอรีโลบของสมองส่วนซีรีบรัมอีกที่หนึ่ง

- เส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 เส้นประสาทออพติก (optic nerve)รับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็นจากเรตินาของลูกตาเข้าสู่ออพติกโลบ แล้วส่งไปยังออพซิพิทัลโลบของซีรีบรัมอีกที่หนึ่ง

- เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 เส้นประสาทออคิวโลมอเตอร์ (oculomotor nerve ) เส้นประสาทสั่งการจากสมองส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อลูกตา 4 มัด ทำให้ลูกตา เคลื่อนไหวกลอกตาไปมาได้ และยังไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ทำให้ลืมตาทำให้ม่านตาหรี่หรือขยายและไปยังกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาอีกด้วย เส้นประสาทสมองคู่ที่ 4 เส้นประสาททอเคลีย (trochlea nerve ) เป็นเส้นประสาทสั่งการไปยังกล้ามเนื้อลูกตา มองลงและมองไปทางหางตา

เส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve)เส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังมีทั้งหมด 31 คู่ เป็นเส้นประสาทประสม
(mixed never)แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5บริเวณดังนี้
(mixed never)แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5บริเวณดังนี

- เส้นประสาทบริเวณคอ (cervical never) 8 คู่

- เส้นประสาทบริเวณอก (thoracal never) 12 คู่

- เส้นประสาทบริเวณเอว (lumbar never) 5 คู่

- เส้นประสาทบริเวณกระเบนเหน็บ(sacral never) 5 คู่เส้นประสาทบริเวณก้นกบ(coccygeal never)1 คู่

- เส้นประสาทที่ไขสันหลังไปเลี้ยงแขนและขาจะมีความยาวมากกว่าไปเลี้ยงลำตัว

- เส้นประสาทบริเวณอก (thoracal never) 12 คู่เส้นประสาทบริเวณเอว(lumbar never)5 คู่ 

เส้นประสาทบริเวณกระเบนเหน็บ(sacral never)5 คู่เส้นประสาทบริเวณก้นกบ (coccygeal never)1 คู่

- เส้นประสาทที่ไขสันหลังไปเลี้ยงแขนและขาจะมีความยาวมากกว่าไปเลี้ยงลำตัว


    3. การทำงานของระบบประสาท
            

         ระบบประสาทเป็นระบบที่ทำงานประสานกันกับระบบกล้ามเนื้อ เช่น ขณะที่นักเรียนอ่านเนื้อหาของบทเรียนนี้อยู่นั้น ระบบประสาทในร่างกายของนักเรียนกำลังแยกการทำงานอย่างหลากหลาย โดยใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที เริ่มจากการควบคุมกล้ามเนื้อตาให้กลอกไปมา ซ้าย-ขวา จอภาพของตาก็จะส่งข้อมูลไปเรียบเรียงที่สมองและเก็บบางส่วนไว้ในหน่วยความจำพร้อมทั้งสมองยังสามารถเรียกความทรงจำเก่า ๆ ออกมาใช้ เพื่อให้รับรู้ข้อมูลใหม่ ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันระบบประสาทจะส่งคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อลายที่ยึดกระดูกให้เรานั่งตัวตรงหรือยกหนังสือขึ้นอ่านได้ และยังควบคุมกล้ามเนื้อตาให้กะพริบราว 25 ครั้งต่อนาทีด้วย นอกจากนั้นระบบประสาทยังรับกระแสประสาทจากอวัยวะภายในต่าง ๆ และส่งคำสั่งกลับไปควบคุมการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด อัตราการหายใจ อุณหภูมิในร่างกาย การย่อยอาหาร และระบบอื่น ๆ ให้ทำงานตามปกติ การที่นักเรียนสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันได้นั้น เพราะมีการประสานงานกันอย่างดีระหว่างกล้ามเนื้อกับประสาทที่เกี่ยวข้อง

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ17 มกราคม 2565 เวลา 17:23

    Casino Roland | Top-Ranked Casinos 2021 クイーンカジノ クイーンカジノ dafabet dafabet ラッキーニッキー ラッキーニッキー 9869amsterdam 1x2sportal tips - casinoland.jp

    ตอบลบ